ลวดเชื่อมมีกี่แบบแล้วจะเลือกลวดเชื่อมยังไงให้ตรงความต้องการลักษณะการใช้งาน

ลวดเชื่อมมีกี่แบบแล้วเราจะเลือกลวดเชื่อมยังไงให้ตรงความต้องการ

 

ลวดเชื่อมมีกี่แบบ ลวดเชื่อมีกี่ประเภท แล้วเราจะเลือกลวดเชื่อมยังไง เป็นคำถามยอดฮิตที่แอดมินถูกถามมาเป็นประจำ ซึ่งคำถามนี้ก่อนอื่นเลย แอดมินจะต้องถามช่างเชื่อมหรือลูกค้า ถึงความต้องการของช่างเชื่อมว่าต้องการอะไร จากการเชื่อมครั้งนี้ รายละเอียดคำถามที่แอดมินจะถามต่มหัวข้อด้านล่างนี้

 

1. ชิ้นงานที่ลูกค้าต้องการเชื่อมคือวัสดุอะไร เช่น ชิ้นงานเป็นอะไร เช่น เหล็ก สแตนเลส อลูมิเนียม หรือวัสดุประเภทอื่นๆ

2. ลูกค้าต้องการเชื่อมด้วยวิธีไหน ซึ่งวิธีการเชื่อมหรือประเภทของวิธีการเชื่อมก็มีความหลากหลาย แล้วแต่ความชำนาญ และ ชนิดของอุปกรณ์การเชื่อมที่ลูกค้ามีอยู่ เช่น เชื่อมไฟฟ้า เชื่อมทิก เชื่อมมิก เชื่อมแก๊ส หรือจะเชื่อมด้วยวิธีการเชื่อมอื่นๆอีก

3. ขนาดของลวดเชื่อม ลูกค้าต้องการลวดเชื่อมขนาดไหน ซึ่งกระบวนการเชื่อมแต่ละขบวนการเชื่อม ก็จะมีขนาดของลวดเชื่อมที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นการเลือกขนาดลวดเชื่อม จะสัมพันธ์กันกับความหนาของชิ้นงาน

4. ความต้องการของการเชื่อมครั้งนี้คืออะไร เช่น รับแรงดึงสูง ทนต่อการสึกกร่อน หรือทนต่อความร้อนสูง

5. หลังจากที่ทราบความต้องการเบื้องต้นของลูกค้าแล้ว ทางแอดมินก็จะสามารถ ประเมินและให้คำแนะนำกับทางผู้ใช้งานได้ว่า งานแบบนี้ ลูกค้าควรที่จะใช้ลวดเชื่อมแบบไหน เชื่อมด้วยกระบวนการเชื่อมอะไร และ ขนาดลวดเชื่อมที่เหมาะสมการชิ้นงานนั้นๆ

 

ทุกกระบวนการเชื่อมก็จะมีทุกประเภทวัสดุของชิ้นงาน หรือในทางกลับกัน ทุกประเภทวัสดุของชิ้นงานก็จะมีทุกกระบวนการเชื่อม ทางแอดมินขอยกตัวอย่าง สัก 3-4 ตัวอย่าง

 

  • ตัวอย่างที่ 1 ช่างเชื่อม A ต้องการเชื่อมชิ้นงานเหล็กเหนียวสำหรับงานเชื่อมแต้มประกอบทั่วไปและเชื่อมลากแนวเชื่อมยาว ช่างเชื่อม A สามารถเลือกได้ว่าต้องการเชื่อมด้วยกระบวนการเชื่อมแบบไหน ซึ่งมีทั้ง เชื่อมไฟฟ้า เชื่อมมิก เชื่อมทิก หรือเชื่อมแก๊ส ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะงานและความต้องการของลูกค้า ซึ่งการเชื่อมแต่ละแบบก็มีจุดเด่น จุดด้อย ที่แตกต่างกัน เช่น

เชื่อมไฟฟ้า จุดเด่น ง่ายสะดวกอุปกรณ์หาง่ายและไม่ยุ่งยาก จุดด้อย ความสะเก็ดไฟมาก (Spatter) ควันเยอะ

เชื่อมมิก จุดเด่น เชื่อมง่ายสะเก็ดไฟน้อย เชื่อมลากยาวได้ดี ควันน้อย จุดด้อย ต้องใช้อุปกรณ์หลากหลาย ราคาสูง

เชื่อมทิก จุดเด่น แนวเชื่อมสวยงาม สะเก็ดไฟน้อย ควันน้อย จุดด้อย ต้องใช้อุปกรณ์หลากหลาย เชื่อมยาก

เชื่อมแก๊ส จุดเด่น เชื่อมง่ายไม่มีควัน จุดด้อย แนวเชื่อมไม่แข็งแรงเท่าที่ควร

  สุดท้ายขึ้นอยู่กับลูกค้า ว่ามีอุปกรณ์ประเภทไหนอยู่ และอุปกรณ์ที่มีอยู่เหมาะกับงานเชื่อมนั้นๆไหม

 

  • ตัวอย่างที่ 2 ช่างเชื่อม B มีโจทย์ให้แอดมินในการช่วยหาลวดเชื่อมที่เหมาะสมกับงานเชื่อม โจทย์คือ ต้องการเชื่อมตะแกรงสแตนเลสที่ใช้งานในเตาอบที่อุณหภูมิสูงมาก แนวเชื่อมต้องสามารถทนความร้อนสูงถึงประมาณ 900 องศาเซลเซียล และต้องเชื่อมด้วยวิธีการเชื่อมมิก โจทย์ที่ได้มานี้ ลูกค้าให้ข้อมูลกับแอดมินค่อนข้างครบถ้วน ก็จะง่ายสำหรับแอดมินเลย ในการเลือกลวดเชื่อม ซึ่งถ้าเป็นลักษณะงานแบบนี้ทางแอดมิน จะแนะนำว่าให้ใช้ ลวดเชื่อมมิกสแตนเลส 310 AWS A5.9 ER310 หรือถ้างานเชื่อมมิกไม่เหมาะสำหรับชิ้นงานที่ลูกค้ามี อาจจะเลือกเป็น ลวดเชื่อมทิกสแตนเลส 310 AWS A5.9 ER310 ก็ได้ตามความเหมาะสมกับงาน ซึ่งขนาดของลวดเชื่อมก็สามารถเลือกให้สัมพันธ์กับชิ้นงานได้เลย

 

  • ตัวอย่างที่ 3 ช่างเชื่อม C ต้องการเชื่อมชิ้นงานวัสดุ Low Alloy Steel ท่อสตีม Boiler ที่ต้องทนต่อความร้อนสูงเป็นวัสดุเกรด A335-P11, P12, A119-T11, A301-B, A217-WC6, และ A182-F11 หรือจะเป็นวัสดุเกรด A335-P22, A199-T22, A200-T22, A213-T22, A387-D, A217WC, A182-F22 และ A336-F22 ซึ่งงานของลูกค้ามีกระบวนการเชื่อมหลายวิธี ทั้งเชื่อมไฟฟ้า เชื่อมทิก และเชื่อมฟลักซ์คอร์ ซึ่งงานเชื่อมในกลุ่มนี้ถูกระบุสเปกลวดเชื่อมมาค่อนข้างชัดเจน ไม่สามารถปรับเปลี่ยนอะไรได้มาก ทางแอดมินจะแนะนำให้เลือกลวดเชื่อมตามกลุ่มด้านล่างนี้

- วัสดุเกรด P11 และ T11 จะต้องใช้ลวดเชื่อมในกลุ่ม 1-1.25Cr%-0.5%Mo

- ถ้าเป็นลวดเชื่อมไฟฟ้า จะเป็นลวดเชื่อมเกรด AWS A5.5 E8016-B2 หรือ AWS A5.5 E8018-B2 ตัวอย่างลวดเชื่อมในกลุ่มนี้

- KOBE CM-A96, KOBE CM-B98, HYUNDAI S-8016.B2 หรือ HYUNDAI S-8018.B2

- ถ้าเป็นลวดเชื่อมทิก จะเป็นลวดเชื่อมเกรด AWS A5.28 ER80S-B2 หรือ AWS A5.28 ER80S-G ตัวอย่างลวดเชื่อมในกลุ่มนี้

- KOBE TG-S80B2, KOBE TG-S1CM, HYUNDAI ST-80CM หรือ HYUNDAI ST-80B2

- ถ้าเป็นลวดเชื่อมฟลักซ์คอร์ จะเป็นลวดเชื่อมเกรด AWS A5.29 E81T1-B2C ตัวอย่างลวดเชื่อมในกลุ่มนี้

- HYUNDAI SC-81B2

- วัสดุเกรด P22 และ T22 จะต้องใช้ลวดเชื่อมในกลุ่ม 2.25Cr%-1%Mo

- ถ้าเป็นลวดเชื่อมไฟฟ้า จะเป็นลวดเชื่อมเกรด AWS A5.5 E9016-B3 หรือ AWS A5.5 E9018-B3 ตัวอย่างลวดเชื่อมในกลุ่มนี้

KOBE CM-A106HYUNDAI S-9016.B3 หรือ HYUNDAI S-9018.B3

- ถ้าเป็นลวดเชื่อมทิก จะเป็นลวดเชื่อมเกรด AWS A5.28 ER90S-B3 หรือ AWS A5.28 ER90S-G ตัวอย่างลวดเชื่อมในกลุ่มนี้

KOBE TG-S90B3KOBE TG-S2CM, หรือ HYUNDAI ST-90B3

- ถ้าเป็นลวดเชื่อมฟลักซ์คอร์ จะเป็นลวดเชื่อมเกรด AWS A5.29 E81T1-B2C ตัวอย่างลวดเชื่อมในกลุ่มนี้

HYUNDAI SC-91B3

 

  • ตัวอย่างที่ 4 ช่างเชื่อม D ต้องการเชื่อมพอกและซ่อมแซมชิ้นงานที่สึกหรอหลังผ่านการใช้งานมาแล้ว ซึ่งทางแอดมินจะต้องสอบถามความต้องการของผู้ใช้งานว่าต้องการอะไรเป็นข้อๆ ตามรายละเอียดด้านล่างนี้

- ผู้ใช้งานความแข็งของแนวเชื่อมขนาดไหน ซึ่งลวดเชื่อมพอกผิวแข็งก็จะมีระดับความแข็งให้เลือกตั้งแต่ระดับ 25 HRC จนถึง 65 HRC คลิกเพื่อดูข้อมูล ลวดเชื่อมพอกผิวแข็ง เพิ่มเติม

- วัสดุชิ้นงานทำมาจากวัสดุอะไร เช่น เหล็กคาร์บอนทั่วไป, เหล็กที่มีส่วนส่วนผสมของโครเมียมคาร์ไบด์, เหล็กวัสดุเกรดแม่พิมพ์จำพวก S45C, S50C, SKD11, SKD61, P20, NAK80, STAVAX

- หรือจะเป็นวัสดุเกรดพิเศษอื่นๆ เช่น วัสดุชิ้นงานที่ต้องการความแข็งและทนต่อความร้อนอย่างพวกเพลาข้อเหวี่ยงต่างๆในเครื่องยนต์ ซึ่งลวดในกลุ่มนี้จะเป็นลวดเชื่อมในกลุ่ม ลวดเชื่อมสเตลไลท์ (ERCoCr-A)

- ผู้ใช้งานต้องการเชื่อมชิ้นงาน ด้วยวิธีการเชื่อมแบบไหน เช่น เชื่อมไฟฟ้า, เชื่อมฟลักซ์คอร์, เชื่อมทิก

หลังจากทราบถึงข้อมูลเบื้องต้น และความต้องการของผู้ใช้งานแล้ว ถึงจะระบุสเปกของลวดเชื่อมและวิธีการเชื่อมได้ถูกต้องตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน

 

หากมีปัญหาหรือคำถามเกียวกับลวดเชื่อมหรืองานเชื่อมทางแอดมินเพจ https://www.udo.co.th สามารถติดต่อเข้ามาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ทางแอดมินยินดีให้คำปรึกษาและแนะนำเกี่ยวกับการเลือกและการใช้งานลวดเชื่อม

 

ช่องทางการติดต่อ

 

สุดท้ายแอดมินหวังว่าเกร็ดข้อมูลเล็กๆน้อยๆนี้จะพอเป็นประโยชน์ ให้กับผู้ใช้งานในการเลือกใช้ลวดเชื่อมเหมาะกับการใช้งาน และอย่างลืมคำนึงถึงอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยส่วนตัวในการทำงาน