ข้อแนะนำและขั้นตอนวิธีการเชื่อมเหล็กหล่อ

เริ่มแรกช่างเชื่อมควรทำความทราบก่อนว่าชิ้นงานเหล็กหล่อที่ช่างเชื่อมจะนำมาเชื่อมเป็นประเภทไหน ซึ่งชิ้นงานเหล็กหล่อค่อนข้างมีความซับซ้อนในตัวโครงสร้างของส่วนผสมทางเคมี ซึ่งส่วนผสมหลักของเหล็กหล่อ คือ เหล็ก คาร์บอน และซิลิกอน ดังนั้นหลักๆเราจะแบ่งได้ 2 ประเภท

  • เหล็กหล่อเทา
  • เหล็กหล่อเหนียว

คุณสมบัติทางกลของเหล็กหล่อทั้ง 2 ประเภท

  1. เหล็กหล่อเทา เป็นโลหะที่มีความแข็งมากแต่จะมีความเปราะ สามารถกลึง ใส ได้ง่าย การเชื่อมเหล็กหล่อ ชนิดนี้จะต้องระวังปัญหาารแตกร้าวมากเป็นพิเศษ
  2. เหล็กหล่อเหนียว มีคุณสมบัติเชิงกลดีกว่าเหล็กหล่อเทาค่อนข้างมาก สามารถทนต่อแรงกระแทกได้ดีกว่าเหล็กหล่อเทา แต่การเชื่อมเหล็กหล่อเหนียว ชนิดนี้ก็จะต้องระวังปัญหาารแตกร้าวเช่นกัน

ข้อแนะนำและวิธีการเชื่อมเหล็กหล่อทั้ง 2 ชนิดที่ถูกต้อง

1. การเตรียมชิ้นงาน

  • ควรทำควาสะอาดชิ้นงานให้สะอาดปราศจากคราบนำ้มัน หรือสนิมที่เกาะติดที่ผิวโลหะ และมีลวดเชื่อมเหล็กหล่อบ้างชนิดไม่จำเป็นต้องทำความสะอาดชิ้นงานก็สามารถเชื่อมได้
  • ตรวจสอบชิ้นงานให้ดี ปราศจากการแตกร้าว
  • ควรบากหน้าชิ้นงานก่อนทำการเชื่อม ให้เป็นรูปตัว V, X หรือ U

2. การให้ความร้อนกับชิ้นงานก่อนการเชื่อม ขณะเชื่อม และหลังการเชื่อม

  • ควรให้ความร้อนกับชิ้นงานก่อนการเชื่อมประมาณ 600 องศาเซลเซียล หรือ 300-350 องศาเซลเซียล ถ้าชิ้นงานมีความซับซ้อน
  • ขณะเชื่อมควรควบคุมอุณหภูมิไม่ให้สูงเกินไป โดยการเดินแนวเชื่อมเป็นระยะสั้นๆ ไม่ควรเชื่อมลากเป็นแนวยาว เพื่อป้องกันความร้อนที่สะสมบนชิ้นงาน ***การเชื่อมลากเป็นแนวยาวเป็นสาเหตุหลักสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการแตกร้าว หลังจากการเย็นตัวลงของชิ้นงาน***
  • ควรปล่อยให้แนวเชื่อมเย็นตัวลงอย่างช้าๆ ด้วยวิธีการค่อยๆให้ความร้อนคลายตัวในเตาหลอมโลหะ หรือค่อยๆให้ความร้อนลดลงด้วยวิธีการอุ่นโดยค่อยๆลดอุณหภูมิลง
  • เมื่อแนวเชื่อมเย็นตัวลง ให้ใช้ฆ้อนเคาะตามแนวเชื่อมเบาๆ เพื่อช่วยลดความเค้นในแนวเชื่อม

*** ข้อแนะนำเพิ่มเติม เดินแนวเชื่อมจากขอบแนวเชื่อมเข้าสู้ด้านใน เพื่อไม่ให้การแตกร้าววิ่งไปทั่วชิ้นงาน ***

หวังว่าเกร็ดความรู้เล็กน้อยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อช่างเชื่อมที่ต้องการเชื่อมชิ้นงานเหล็กหล่อ

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับงานเชื่อมสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้เลย ทางเรายินดีให้คำปรึกษา